การอ่านจับใจความ
คือ การอ่านเพื่อจับใจความหรือข้อคิด ความคิดสำคัญหลักของข้อความ หรือเรื่องที่อ่าน เป็นข้อความที่คลุมข้อความอื่น ๆ ในย่อหน้าหนึ่ง ๆ ไว้ทั้งหมด
👉ใจความสำคัญ หมายถึง ใจความที่สำคัญ และเด่นที่สุดในย่อหน้า เป็นแก่นของย่อหน้าที่สามารถครอบคลุมเนื้อความในประโยคอื่นๆ ในย่อหน้านั้นหรือประโยคที่สามารถเป็นหัวเรื่องของย่อหน้านั้นได้ ถ้าตัดเนื้อความของประโยคอื่นออกหมด หรือสามารถเป็นใจความหรือประโยคเดี่ยวๆ ได้ โดยไม่ต้องมีประโยคอื่นประกอบ ซึ่งในแต่ละย่อหน้าจะมีประโยคในความสำคัญเพียงประโยคเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ประโยค
👉ใจความรอง หรือพลความ(พน-ละ-ความ) หมายถึง ใจความ หรือประโยคที่ขยายความประโยคใจความสำคัญ เป็นใจความสนับสนุนใจความสำคัญให้ชัดเจนขึ้น อาจเป็นการอธิบายให้รายละเอียด ให้คำจำกัดความ ยกตัวอย่าง เปรียบเทียบ หรือแสดงเหตุผลอย่างถี่ถ้วน เพื่อสนับสนุนความคิด ส่วนที่มิใช่ใจความสำคัญ และมิใช่ใจความรอง แต่ช่วยขยายความให้มากขึ้น คือ รายละเอียด (ที่มา: http://www.aw.ac.th/webboard-show_9880)
อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=wX3_mc6OtII
☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺
การย่อความเป็นทักษะการเขียนที่เกี่ยวเนื่องกับการอ่านจับใจความส าคัญ การย่อความจึงเป็นการเขียน
ที่ผู้เขียนได้เก็บใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านแล้วเรียบเรียงขี้นมาใหม่ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง ข้อความที่
เรียบเรียงขี้นใหม่นั้นจะต้องกระชับ รัดกุม และมีใจความส าคัญครบถ้วน
๑. ความหมายของการย่อความ
การย่อความ คือ การเก็บใจความส าคัญของเรื่องต่าง ๆ แล้วเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ด้วยส านวนภาษา
ของตนเอง ข้อความที่เรียบเรียงขึ้นใหม่นั้นจะต้องมีความกระชับ รัดกุม สละสลวย และมีใจความสสำคัญถูกต้อง
และครบถ้วน
อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=XJu06j6q8fo
No comments:
Post a Comment