การพูดเล่าเรื่อง
การพูดเล่าเรื่อง คือ การถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆให้ผู้อื่นได้รับทราบเกิดความเข้าใจเรื่องราว
รูปแบบการพูดเล่าเรื่อง
- การเล่านิทาน
- การเล่าชีวประวัติของบุคคล
- การเล่าเหตุการณ์
หลักการพูดเล่าเรื่อง
- มีข้อมูล ความรู้ และความเข้าใจในเรื่องที่จะเล่าเป็นอย่างดี
- ใช้น้ำเสียงชัดเจน ไม่เบาหรือดังเกินไป
- ใช้คำที่สุภาพ ถูกกาลเทศะ
- เว้นวรรคตอนในการพูดให้ถูกต้อง
- รักษาเวลาในการพูด
- ระมัดระวังในการพูดให้ถูกอักขรวิธี
- ใช้น้ำเสียงท่าทางประกอบการพูดให้สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง
- ลำดับเนื้อเรื่องเหตุการณ์ก่อนหลังเพื่อไม่ให้เล่าวกไปวนมาและเกิดความสับสน
- มีความเชื่อมั่นในตนเอง
- มีการฝึกซ้อมการพูดเพื่อความคล่องแคล่ว
(ที่มา: https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/27732)
แบบสร้างคำ
แบบสร้างคำ คือ วิธีการนำอักษรมาประสมเป็นคำเกิดความหมายและเสียงของแต่ละ พยางค์ ใน ๑ คำ จะต้องมีส่วนประกอบ ๓ ส่วน เป็นอย่างน้อย คือ สระ พยัญชนะและวรรณยุกต์ อย่างมากไม่เกิน ๕ ส่วน คือ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์
รูปแบบของคำ
คำไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีทั้งคำที่เป็นคำไทยดั้งเดิม คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ คำศัพท์เฉพาะทางวิชาการคำที่ใช้เฉพาะในภาษาพูด คำชนิดต่าง ๆ เหล่านี้มีชื่อเรียกตามลักษณะ และแบบสร้างของคำ เช่น คำมูล คำประสม คำสมาส คำสนธิ คำพ้องรูป คำพ้องเสียง คำเหล่านี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ผู้เรียนจะเข้าใจลักษณะแตกต่างของคำเหล่านี้ได้จากแบบสร้างของคำ (ที่มา: https://sites.google.com/site/icesupakit10071998/home/radab-chan-mathymsuksa-pi-thi-1/kar-srang-kha-doy-chi-khamul-kha-prasm-kha-sa-kha-sxn-laea-kha-phxng)
No comments:
Post a Comment