รายวิชา ท 32101 ภาษาไทย 3

 ลิลิตตะเลงพ่าย

                 ลิลิตตะเลงพ่าย เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิต ประพันธ์ขึ้นโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสและ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในวาระงานพระราชพิธีฉลองตึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามในรัชกาลที่ 3 โดยตะเลงในที่นี้หมายถึง มอญ 

        ที่มาของเรื่อง 
                        1.พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) 
                        2.วรรณคดีเก่าเรื่อง ลิลิตยวนพ่าย ลิลิตพระลอ 
                        3.จินตนาการของผู้แต่ง คือ ช่วงบทนิราศ 

        จุดมุ่งหมายในการแต่ง 
                        1เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 
                        2.ฉลองตึกวัดพระเชนตุพนฯ สมัย รัชกาลที่ 3 
                        3.สร้างสมบารมีของผู้แต่ง(เพราะผู้แต่งขอไว้ว่าถ้าแต่งเสร็จขอให้สำเร็จสู่พระนิพพาน )

        ลักณะการแต่ง
                แต่งด้วยลิลิตสุภาพ ประกอบด้วย ร่ายสุภาพ โคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ แต่งสลับกันไป จำนวน 439 บท โดยได้แบบอย่างการแต่งมาจากลิลิตยวนพ่ายที่แต่งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น ลิลิตเปรียบได้กับงานเขียนมหากาพย์ จัดเป็นวรรณคดีประเภทเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ (ที่มา: https://sites.google.com/site/wrrnkrrmphunban/wrrnkrrm-rach-sanak-1/lilit-taleng-phay)


อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=c-eiMOj-QFk


คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทยศาสตร์สงเคราะห์

            ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นตำราแพทย์ของไทยโบราณ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้รวบรวมขึ้นไว้ เพื่อเป็นหลักฐานและเผยแพร่การแพทย์แผนโบราณและตำรายาพื้นบ้านของไทย ซึ่งตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ ได้ถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่ายิ่งต่อประเทศชาติ

        แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง แบ่งเป็นเรื่องราวต่าง ๆ เรียกว่า “คัมภีร์” โดยภายในเล่มประกอบไปด้วย ๑๔ คัมภีร์ รวมถึง “คัมภีร์ฉันทศาสตร์” ที่เราเรียนกันในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ นี้ด้วย

ต้นกำเนิดแห่งตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์

            พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ประชุมคณะแพทย์หลวง เพื่อสืบค้นและรวบรวมตำราแพทย์จากที่ต่าง ๆ มาตรวจสอบ ชำระให้ตรงกับฉบับดั้งเดิม แล้วส่งมอบให้กรมพระอาลักษณ์เขียนลงสมุดไทย ด้วยอักษรไทยที่มีชื่อเรียกว่า “เส้นหรดาล (แร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยธาตุสารหนูและกํามะถัน)”  

            หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ให้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้ง “โรงเรียนราชแพทยาลัย” ได้โปรดให้จัดพิมพ์ตำราแพทย์หลวงสำหรับโรงเรียนขึ้นใช้เป็นครั้งแรก เรียกว่า “ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์” แต่พิมพ์ได้เพียง ๓ เล่มก็ต้องยกเลิก เพราะไม่มีทุนในการจัดพิมพ์

            ต่อมาพระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเดช) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทยของราชแพทยาลัย และผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร ได้กราบทูลขอประทานพระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (นายกสภาหอสมุดวชิรญาณ) ในการจัดพิมพ์ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวงจำนวน ๒ เล่มจบสมบูรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๐ เพราะเล็งเห็นความจำเป็น 2 ประการคือ

        ๑. ราษฎรที่ป่วยจะต้องมีตำราด้านการแพทย์ เพื่อเป็นคู่มือไว้รักษาตนเอง

        ๒. อนุรักษ์ตำราแพทย์แผนไทยไว้ให้คนรุ่นหลัง

ลักษณะคำประพันธ์

            ลักษณะคำประพันธ์ของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์นั้นมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกัน โดยส่วนใหญ่เป็นกาพย์ยานี ๑๑ สำหรับตอนที่กล่าวถึงลักษณะทับ (ลักษณะโรคแทรกซ้อน) ๘ ประการ ใช้คำประพันธ์ประเภทร่าย


อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=90fqcA5sQgI




No comments:

Post a Comment

เพลงจำขึ้นใจ