ประเพณีท้องถิ่นประจำภาค
คำว่า “ท้องถิ่น” หมายถึง พื้นที่และขอบเขตที่ชุมชน หมู่บ้าน เมือง มีการปะทะสรรค์กันทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนปรากฏรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เหมือนกัน และแตกต่างกันไปจากชุมชน หมู่บ้าน และเมือง ในท้องถิ่นอื่น ดังนั้นวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นแต่ละแห่งอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ซึ่งเราพอจะสรุปลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของไทย
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
ความหมายของวัฒนธรรมมีหลายอย่าง เช่น หมายถึงขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ได้รับการปรุงแต่งให้ดีแล้ว หรือสิ่งที่ได้รับการยอมรับและยกย่องมาเป็นเวลานานแล้ว เช่น ค่านิยม ความคิดเห็น วิทยาการต่าง ๆ เป็นต้น
วัฒนธรรมไทยในแต่ละท้องถิ่น จะมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ และยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้เป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และการดำเนินชีวิตของคนไทยอยู่ตลอดเวลา
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่สืบสานต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน มีวัฒนธรรมหลักที่ถือว่า เป็นวัฒนธรรมประจำชาติไทย และแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทย ได้แก่
1. ศาสนา คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็มิได้กีดกันผู้ที่นับถือศาสนาอื่นแต่อย่างใด
2. ภาษา คนไทยมีภาษาและตัวอักษรไทย ซึ่งพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1826
3. ประเพณีไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่เคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบทอดกันมาจนถึงลูกหลาน ที่เรียกกันว่าขนบธรรมเนียมประเพณีนั่นเอง เช่น การไหว้ การเซ่นไหว้บรรพบุรุษ เป็นต้น (ที่มา: https://50510ubonrat.wordpress.com/)
อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=FlvkO1SHLbM
No comments:
Post a Comment