การพูดโน้มน้าว
หมายถึง การพูดเชิญชวน เกลี้ยกล่อม ชักจูงให้ผู้ฟังเกิดความเชื่อถือ ศรัทธา มีความคิดเห็นคล้อยตาม และปฏิบัติตาม เช่น การพูดโฆษณา การพูดหาเสียง การพูดเชิญชวนให้ปฏิบัติตาม การพูดชักจูงให้เปลี่ยนแปลงทัศนคติ การพูดปลุกเร้าให้เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆผู้พูดที่ดีย่อมจะพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเปลี่ยนแปลงทัศนคติและความเชื่อไปในทางที่ดีอันจะเป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม โดยการใช้ความสามารถในการพูดชี้แนะให้ผู้ฟังเห็นสิ่งดีงาม ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งนั้น และช่วยกันรักษาสิ่งที่ดีงามนั้นไว้ เช่น พูดเชิญชวนให้รักภาษาไทย ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง พูดให้หันมานิยมรับประทานอาหารไทยแทนอาหารฟาสต์ฟูดของต่างชาติ พูดแนะนำให้เห็นความสำคัญของการเกณฑ์ทหารเพื่อรับใช้ชาติ
การพูดโน้มน้าวใจให้ผู้ฟังเชื่อถือหรือกระทำตามนั้น ควรจะต้องเป็นไปโดยความสมัครใจหรือความยินยอมพร้อมใจของผู้ฟัง มิใช่การบีบบังคับหรือการใช้อุบายอย่างอื่น เช่น แจกเงินให้รางวัลหรือการข่มขู่ ทั้งนี้เพราะความเชื่อที่ถูกบังคับให้เชื่อหรือทำตามนั้น เป็นความเชื่อที่อยู่ได้ไม่นาน ย่อมสลายหายไปเมื่อขาดแรงจูงใจ การพูดโน้มน้าวใจที่ดีและมีประสิทธิภาพ จึงไม่ควรบังคับ แต่จะต้องพูดให้ผู้ฟังตระหนักถึงความเป็นจริง แล้วเกิดความเชื่อถือที่จะกระทำตามด้วยความสมัครใจ (http://www.digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai2_7/page1.php)
อ้างอิง: https://www.youtube.com/watch?v=MZ4vlrgvI2Q
การพูดโต้แย้ง
การโต้แย้งเป็นการแสดงทรรศนะที่แตกต่างกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ผู้แสดงทรรศนะต้องพยายามหาเหตุผล สถิติ หลักการ อ้างข้อมูลและหลักฐานต่างๆ มาสนับสนุนทรรศนะของตนให้น่าเชื่อถือ และคัดค้านทรรศนะของอีกฝ่ายหนึ่งเรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการโต้แย้ง มีดังนี้
1. โครงสร้างของการโต้แย้ง
2. หัวข้อและเนื้อหาของการโต้แย้ง
3. กระบวนการโต้แย้ง
4. การวินิจฉัยเพื่อตัดสินข้อโต้แย้ง
5. ข้อควรระวังในการโต้แย้ง
โครงสร้างของการโต้แย้ง
โครงสร้างของการโต้แย้งคือ โครงสร้างของการแสดงเหตุผล เพราะกระบวนการโต้แย้งต้องอาศัยเหตุผลเป็นสำคัญ ซึ่งการโต้แย้งจะต้องประกอบด้วย
" ข้อสรุป " และ " เหตุผล "
(ที่มา; http://www.digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai8_4/more/page2.php)
มหาเวสสันดรชาดก (กัณฑ์มัทรี)
มัทนะพาธา
มัทนะพาธาและความเป็นมาของตำนานแห่งดอกกุหลาบ (แบบไทย ๆ)
กุหลาบเป็นดอกไม้ที่อยู่เคียงคู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน จากหลักฐานฟอสซิล กุหลาบอาจปรากฏขึ้นบนโลกตั้งแต่ ๓๕ ล้านปีก่อน ด้วยความที่อยู่มานาน เรื่องราวของดอกกุหลาบจึงแทรกซึมอยู่ในเรื่องเล่าและตำนานของชนชาติต่าง ๆ มากมาย ส่วนตำนานดอกกุหลาบแบบไทย ๆ นั้นมีจุดเริ่มต้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)
ตำนานดอกกุหลาบที่ว่านั้นคือ ‘มัทนะพาธา’ บทละครพูดที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ‘คิดพล็อต’ ขึ้นเองทั้งหมด รัชกาลที่ ๖ ทรงเริ่มพระราชนิพนธ์มัทนะพาธาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ถึง ๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ใช้เวลาแต่งรวมแค่ ๑ เดือนกับ ๑๗ วันก็เสร็จสมบูรณ์ หลังจากได้เค้าโครงเรื่องของตำนาน ขั้นตอนต่อมาคือการหาชื่อดอกกุหลาบที่จะมาเป็นชื่อของนางเอกในภาษาบาลีสันสกฤต เบื้องต้นพระสารประเสริฐ (ตรี นาคะประทีป) ได้เสนอชื่อ ‘กุพฺชก’ ซึ่งหากจะให้เป็นชื่อนางเอกต้องเปลี่ยนเสียงเป็นคำว่า ‘กุพฺชกา’ ให้ฟังดูไพเราะ แต่ความหมายของคำว่ากุพฺชกานั้นแปลว่านางค่อม สุดท้ายจึงได้ชื่อ ‘มัทนา’ ที่มาจากคำว่า ‘มทน’ อันมีความหมายว่า ‘ความลุ่มหลงหรือความรัก’ มาแทน
ในส่วนของชื่อเรื่อง เมื่อคำว่า ‘มทน’ รวมกับคำว่า ‘พาธา’ ที่แปลว่าความทุกข์ ความหมายของ ‘มัทนะพาธา’ ในพจนานุกรมสันสกฤตจึงหมายถึง ‘ความเจ็บหรือเดือดร้อนแห่งความรัก’ ซึ่งตรงกับแกนเรื่องหลักของตำนานดอกกุหลาบไทย ๆ ฉบับนี้พอดี โดยวัตถุประสงค์ในการแต่งบทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัทนะพาธานี้ ก็เพื่อความบันเทิง และเพื่อชี้ให้เห็นถึงอานุภาพแห่งความรักที่สร้างความทุกข์ความเจ็บปวดได้หากไม่สมหวังในรัก (ที่มา: https://blog.startdee.com/)
No comments:
Post a Comment